เหล็กรูปพรรณ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ คืออะไร ?

เหล็กรูปพรรณ คือ คำ เรียกเหล็กชนิดหนึ่ง ที่ผ่านกระบวนการผลิตและแปรรูป เป็นรูปทรงต่างๆ ให้เหมาะสมกับการทำงานแต่ละประเภท และช่วยให้เกิดความสะดวกสบายในด้านการใช้งาน  ทั้งงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ งานโครงสร้าง งานศิลปะ ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ คือ  เหล็กรูปพรรณรีดร้อน และ เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะที่ต่างกันค่ะ

เหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel) คือ เหล็กที่ผ่านกระบวนการหลอม และหล่อขึ้นรูปเป็นเหล็กแท่งในขั้นต้น จากนั้นใช้ความร้อนเพื่อทำการรีด ตอนที่เหล็กยังมีอุณหภูมิสูง เพื่อให้ได้หน้าตัดและขนาดต่างๆ

การใช้งานของเหล็กรูปพรรณรีดร้อน นิยมใช้ในงานโครงสร้างอาคาร  งานสถาปัตยกรรม สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี  ซึ่งเหมาะทั้งงานโครงสร้างอาคารที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่

เหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่ใช้กันบ่อยๆ เช่น

  • เหล็กฉาก(Angle Bar)
  • เหล็กรางน้ำ(Channel Bar)
  • เหล็กไอบีม(I-Beam)
  • เหล็กเอชบีม(H-Beam)
  • เหล็กไวแฟรงค์(wide-Flange)
  • เหล็กเพลาขาว(Steel Round Bar)
  • เหล็กแบน(Flat Bar)
  • เหล็กเส้นเส้นก่อสร้าง(Round Bar)
  • เหล็กเส้นข้ออ้อย(Deformed Bar)

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดเย็น (Cold formed structural steel) คือกระบวนการพับขึ้นรูปเหล็กกล้าที่มีลักษณะเป็นแผ่นในอุณหภูมิปกติ ซึ่งวัตถุดิบในการขึ้นรูปคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนหรือเหล็กแผ่นชุบสังกะสี ซึ่งได้แก่

  • เหล็กตัวซี (LIGHT LIP CHANNEL)
  • ท่อกลมดำ (CARBON STEEL TUBES)
  • เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมจตุรัส (CARBON STEEL SQUARE PIPES)
  • เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า (CARBON STEEL RECTANGULAR PIPES)
  • ท่อเหล็กอาบสังกะสี (GALVANIZED STEEL PIPES)
  • ท่อเฟอร์นิเจอร์ (STEEL FURNITURE ROUND PIPES)
  • ท่อกลม API (AHTM A 53)
  • เหล็กฉากพับ (COLD FORMED CHANNEL)
  • เหล็กรางพับ (COLD FORMED CHANNEL)

การนำไปใช้งานของเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น นิยมใช้กันมากในงานโครงสร้าง โครงหลังคา ต่างๆ แทนการใช้ไม้ หรืองานที่รองรับน้ำหนักไม่มากนัก เช่น โครงหลังคา งานนั่งร้าน เป็นต้น

ข้อดีของเหล็กรูปพรรณ

  1. มีกำลังต่อน้ำหนักสูง เหมาะในการก่อสร้างอาคารที่มีระยะช่วงที่ยาวมากๆ และอาคารสูง
  2. มีสมบัติทางกลสม่ำเสมอ สามารถออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้หลากหลาย เช่น ดัดโค้ง ทำโครงสร้างโปร่ง หรือทำส่วนยื่นได้มาก
  3. มีความยืดหยุ่นสูง ลดการเสียรูปอย่างถาวร
  4. มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ถ้าดูแลเหมาะสมและถูกต้อง
  5. ก่อสร้างได้ง่าย และรวดเร็ว กว่างานคอนกรีตมาก
  6. ก่อสร้างในที่จำกัดได้สะดวก ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะผุ่น
  7. สามารถรับแรงสั่นสะเทือนและแผ่นดินไหวได้ดีกว่าโครงสร้างระบบอื่น
  8. ดัดแปลง ต่อเติม หรือรื้อไปสร้างใหม่ได้ ไม่ต้องทุบทิ้ง
  9. สามารถนำวัสดุมาหมุนเวียนได้ 100%

ใส่ความเห็น